คาร์บอนฟุตพริ้นท์
การประเมิน CFO
ทำให้ทราบแหล่งปล่อย และ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขององค์กร
ผลการประเมิน CFO
ผลการประเมินนำไปสู่การตั้งเป้าและจำแนกมาตรการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การทวนสอบ CFO
การทวนสอบทำให้มีความน่าเชื่อถือ สามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะได้
กลุ่มบริการย่อย
คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint of Organization: CFO) และ คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรภาคบริการ (Carbon Footprint of Service: CFS)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นเครื่องมือคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในรูปของน้ำหนักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ระดับองค์กร หมายถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทั้งหมดขององค์กรโดยตลอดวัฏจักรชีวิต ในรูปของน้ำหนักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ต่อองค์กร ประยุกต์ใช้กับ
- อุตสาหกรรมภาคผลิต เช่น โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ที่ทำการผลิตผลิตภัณฑ์
- อุตสาหกรรมภาคบริการ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก ธนาคาร โรงแรม โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และห้องสมุด
โดยอ้างอิงกรอบดำเนินงานและขั้นตอนตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐานสากล ISO 14064
สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/
รายชื่อองค์กรขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรับรอง
http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/verifier/organization/organization.pnc
เป้าหมายการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร
องค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งจากภาคเอกชนและภาคบริการ รวมทั้ง เทศบาล มีการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร เพื่อ
- การดำเนินการสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
- การรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประจำปีตามกฏหมายกำหนดหรือการรายงานใน ONE Report, SD report, DJSI
- การสร้างแบรนด์โดยการสื่อสารเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ขอบข่ายการให้บริการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก
VGREEN ให้บริการทวนสอบและรับรองค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint of Organization: CFO) ตามข้อกำหนดในการคำนวณและรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่อไปนี้
- อุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป (General Manufacturing Industries) ได้แก่
- การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม
- การผลิตอาหาร
- วิศวกรรมโยธา
- การก่อสร้าง
- การทำเหมืองและการผลิตแร่ (Mining and Mineral Production) ได้แก่
- การผลิตปูนซีเมนต์เม็ดและปูนไลม์หรือการเผาแร่โดโลไมต์และแร่แมกนิไทต์
- การผลิตแก้ว เซรามิค และแร่ใยหิน
- อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และการพิมพ์ (Pulp, Paper and Print)
- การขนส่ง (Transport) ได้แก่
- การบิน
- การขนส่งอื่น
- การจัดการและกำจัดของเสีย (Waste Handling and Disposal)
- การผลิตน้ำ และการบำบัดน้ำเสีย
- การฝังกลบขยะ
- การผลิตปุ๋ยหมัก
- การเกษตร ป่าไม้ และการใช้ที่ดิน (Agriculture, Forestry and Other Land Use) วนศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ
- กิจกรรมการบริการทั่วไป (General Service Activities) ได้แก่
- การใช้อาคารและการจัดการสาธารณูปโภค
- การศึกษา
- โรงพยาบาล
- การผลิตพลังงาน และการจัดการพลังงานไฟฟ้า (Power Generation and Electric Power Transactions) ได้แก่
- การจ่ายไฟฟ้า
- การผลิตไฟฟ้า
- การจ่ายไฟฟ้าจากหน่วยผลิตไปยังสถานีส่งและ/หรือผู้ใช้ไฟฟ้า
- ระบบพลังงานทดแทน – ไฟฟ้าที่ซื้อมาจากภายนอก
- ไอน้ำ
- อุตสาหกรรมการผลิตโลหะ (Metals Production) ได้แก่
- การผลิตเหล็ก
- การผลิตอลูมิเนียมขั้นทุติยภูมิ
- การผลิตโลหะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เหล็ก รวมทั้งโลหะผสม
- การผลิตถ่านหิน
- การถลุงเหล็ก
- การผลิตเหล็กดิบและเหล็กกล้า รวมทั้งการหล่อโลหะ
- อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมี (Chemical Production)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นเครื่องมือคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในรูปของน้ำหนักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ระดับผลิตภัณฑ์ หมายถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมโดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน ตลอดจนการขนส่งที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน ในรูปของน้ำหนักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์หรือหน่วยหน้าที่การทำงานที่คำนึงถึงสมรรถนะการทำงานผลิตภัณฑ์
อ้างอิงกรอบดำเนินงานและขั้นตอนตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐานสากล ISO 14067
สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/
รายชื่อองค์กรขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรับรอง
http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/verifier/products/products.pnc
เป้าหมายการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์
ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีการประยุกต์ใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เพื่อ
- การสร้างโอกาสทางการตลาดจากการติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ และ ตามความต้องการของลูกค้า ได้แก่ ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ฉลากคาร์บอนนิวทรัล ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน
- การสร้างแบรนด์โดยการสื่อสารเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ บริหารจัดการประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน
คาร์บอนฟุตพริ้นท์อีเว้นท์ (Carbon Footprint of Event: CF-Event) หรือ Carbon Neutral Event

คาร์บอนฟุตพริ้นท์อีเว้นท์
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นเครื่องมือคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในรูปของน้ำหนักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ระดับกิจกรรมการจัดอีเว้นท์ หมายถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการจัดอีเว้นท์ ซึ่งพิจารณาจากการจัดหาวัตถุดิบ การให้บริการจัดงาน และการจัดการของเสีย ตลอดจน การเดินทางและพักค้างของผู้มาร่วมงาน ในรูปของน้ำหนักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2q) ต่ออีเว้นท์
อ้างอิงกรอบดำเนินงานและขั้นตอนตามแนวทางการประเมินคาร์บอนผลิตภัณฑ์ ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐานสากล ISO 14064
สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/admin/uploadfiles/download/ts_67cad10db6.pdf
รายชื่อองค์กรขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบรับรอง
http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/verifier/organization/organization.pnc
เป้าหมายการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์อีเว้นท์
ผู้ประกอบการให้บริการจัดงานอีเว้นท์ เช่น การจัดงานวิ่งลดโลกร้อน การจัดงานสัมมนาลดโลกร้อน การเปิดตัวสินค้าใหม่ใส่ใจโลกร้อน การประชุมผู้บริหาร การจัดแสดงนิทรรศการทางการค้า ฯลฯ มีการประยุกต์ใช้คาร์บอนนิวทรัลอีเว้นท์เพื่อ
- การสร้างโอกาสทางการตลาดจากความต้องการของลูกค้า
- การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
หน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก VGREEN

ประวัติ
วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการรับรองระบบงานตามมาตรฐานสากล ได้แก่ ISO 17029, 14065, 14064-3 จาก สำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (NSC: National Standardization Council of Thailand) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม และ ขึ้นทะเบียนเป็น หน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก ระดับชาติ เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2563
ต่อมา วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการต่ออายุใบรับรองระบบงานตามมาตรฐานสากล ได้แก่ ISO 17029, 14065, 14064-3 จาก สำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (NSC: National Standardization Council of Thailand) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2566
จากนั้น ได้มีการเปลี่ยนสถานภาพจากหน่วยงานราชการ (วีกรีน คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) เป็น หน่วยงานเอกชน คือ บริษัท วีกรีน เคยู จำกัด เมื่อปี 2566 จากนั้น ได้แจ้งไปยัง สำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (NSC: National Standardization Council of Thailand) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อขอรับการตรวจประเมินระบบงานเพิ่มเติมในเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และ ได้รับใบรับรองระบบงานตามมาตรฐานสากล ได้แก่ ISO 17029, 14065, 14064-3 จาก สำนักงานคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (NSC: National Standardization Council of Thailand) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม เมื่อปี 2566
รายการเอกสารที่ประกาศต่อสาธารณะตามข้อกำหนด ISO 17029/14065/14064-3
- ประกาศนโยบายหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก
- ประกาศนโยบายความเป็นกลาง
- ประกาศข้อกำหนดทั่วไปในการขอรับบริการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก
- กระบวนการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร
- กระบวนการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ T-VER สาขาป่าไม้
- กระบวนการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ T-VER สาขาพลังงาน
- รายชื่อผู้ทวนสอบก๊าซเรือนกระจก
นโยบายคุณภาพของหน่วยงานตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก
การขอรับบริการ

บริการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Verification Service)
Verification service ก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร) ของ TGO
- เอกสารใบยื่นคำขอ
- เอกสารแนบประกอบการยื่นคำขอรับบริการ
บริการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Verification Service)
Verification service ก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์) ของ TGO
- เอกสารใบยื่นคำขอ
- เอกสารแนบประกอบการยื่นคำขอรับบริการ”
บริการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการจัดอีเว้นท์ และ ขอรับการรับรอง (Verification Service)
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการจัดอีเว้นท์ และ ขอรับการรับรองคาร์บอนนิวทรัลอีเว้นท์ ของ TGO
- เอกสารใบยื่นคำขอ
- เอกสารแนบประกอบการยื่นคำขอรับบริการ
การขอยื่นอุทธรณ์
ดาวน์โหลดเอกสารคำขอยื่นอุทธรณ์ ได้ที่นี่
การขอร้องเรียน
ดาวน์โหลดเอกสารคำขอพิจารณาร้องเรียน ได้ที่นี่
ลูกค้าของวีกรีน
ฟาร์ม
โรงคัดบรรจุ
โรงงานอาหาร
ผู้ผลิต ส่งออก นำเข้า และจัดจำหน่าย
ผู้ค้าปลีกอาหาร: ซุปเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ตลาดสด ตลาดอาหารเฉพาะ
โรงแรม ร้านอาหาร และผู้รับจัดเลี้ยง
สถาบันวิจัย และหน่วยงานราชการ

คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ ต่างกันอย่างไร
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO: Carbon Footprint of Organization) เป็นการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขององค์กร ใช้แสดงข้อมูลในรายงานความยั่งยืน หรือ เป็นการประเมินความก้าวหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
ส่วนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP: Carbon Footprint of Product) เป็นการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของวัฏจักร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ กระบวนการผลิต (รวมทั้งบรรจุภัณฑ์) การกระจายสินค้า การใช้งาน การจัดการของเสียขั้นสุดท้าย รวมทั้ง การขนส่งที่เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน ใช้แสดงข้อมูลในการสมัครขอรับการรับรองค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เพื่อติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่ใส่ใจเรื่องโลกร้อน
คณะทำงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ควรมีใครบ้าง
ฝ่ายสิ่งแวดล้อม ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายผลิต ฝ่ายพัสดุ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายบัญชี
ค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษา ประเมินอย่างไร
ประเมินตามขอบเขตการดำเนินงาน หากเป็นคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร พิจารณาจากขนาด ความซับซ้อนของกิจกรรมองค์กร แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก การคำนวณข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ส่วนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ พิจารณาจากชนิดผลิตภัณฑ์ จำนวน SKUs ความซับซ้อนของกระบวนการผลิตและกิจกรรมสนับสนุนการผลิต ตลอดจน กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ การรวบรวมค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การได้รับใบรับรองและการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรใช้เวลากี่วัน
ใช้เวลาทวนสอบที่โรงงาน 1 วัน ขั้นต่ำ และสำหรับใบรับรอง โดยปกติใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงจะได้ใบรับรองจาก อบก.
ค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ประเมินอย่างไร
ประเมินตามจำนวนวันทำงาน ได้แก่ Desk reviewing, On-site visit, Verification report, Responses to CARs, Draft verification statement
มีความช่วยเหลือพิเศษสำหรับ SMEs หรือไม่
สำหรับ ค่าบริการการจ้างที่ปรึกษาและผู้ทวนสอบ มีอัตราพิเศษสำหรับ SMEs และมีโครงการ DBS ของ สสว.
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bds.sme.go.th/